วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2562

ข้อสอบ O-NET ปี 2550

ข้อที่ 1. สารชีวโมเลกุลชนิดใดมีมากที่สุดของน้ำหนักแห้งในร่างกายคน
ตัวเลือกที่ 1 : ไขมัน
ตัวเลือกที่ 2 : โปรตีน
ตัวเลือกที่ 3 : คาร์ไบไฮเดรต
ตัวเลือกที่ 4 : กรดนิวคลีอิก

ข้อที่ 2. ในการปรุงอาหารให้แก่ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงน้ำมันชนิดใด เพราะเหตุใด
ตัวเลือกที่ 1 : น้ำมันถั่วเหลือง เพราะมีโปรตีนมากเกินไป
ตัวเลือกที่ 2 : น้ำมันรำ เพราะเกิดกลิ่นเหม็นหืนง่าย
ตัวเลือกที่ 3 : น้ำมันมะพร้าว เพราะมีกรดไขมันอิ่มตัวมาก
ตัวเลือกที่ 4 : น้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย เพราะมีกรดไขมันที่จำเป็นมาก

ข้อที่ 3. ข้อใดไม่ถูกต้อง
ตัวเลือกที่ 1 : กรดไลโนเลอิก เป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว
ตัวเลือกที่ 2 : ถ้าเด็กทารกขาดกรดไลโนเลนิก จะมีผิวหนังแห้ง อักเสบ หลุดลอก
ตัวเลือกที่ 3 : ไขมันเมื่อต้มกับเบสจะเกิดปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชัน
ตัวเลือกที่ 4 : คอเลสเทอรอลไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้เส้นเลือดอุดตัน

ข้อที่ 4. กรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับทารกคือข้อใด
ตัวเลือกที่ 1 : อาร์จินีน และฮีสติดีน
ตัวเลือกที่ 2 : ทริปโตเฟนและเมไทโอนีน
ตัวเลือกที่ 3 : ไลซีนและลิวซีน
ตัวเลือกที่ 4 : ไอโซลิวซีนและเวลีน


ข้อที่ 5. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของโปรตีน
ตัวเลือกที่ 1 : รักษาสมดุลของน้ำและกรด-เบส
ตัวเลือกที่ 2 : เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ทุกชนิด
ตัวเลือกที่ 3 : สร้างอิมมูโนโกลบูลิน
ตัวเลือกที่ 4 : ช่วยละลายวิตามิน A D E K

ข้อที่ 6. สารชนิด เมื่อหยดสารละลายเบเนดิกต์ลงไป แล้วเกิดตะกอนสีแดงอิฐ สารชนิด เมื่อหยดสารละลายทิงเจอร์ไอโอดีนลงไป แล้วเกิดสีน้ำเงิน ข้อใดผิด
ตัวเลือกที่ 1 : A คือ มอโนแซ็กคาไรด์
ตัวเลือกที่ 2 : B สามารถย่อยสลายด้วยเอมไซม์อะไมเลสแล้วจะได้น้ำตาลแลกโตส
ตัวเลือกที่ 3 : เมื่อนำ ไปหมักด้วยยีสต์ จะได้เอทิลแอลกอฮอล์
ตัวเลือกที่ 4 : B เมื่อถูกความร้อนจะสลายเป็นเด็กซ์ตริน มีสมบัติเหนียวแบบกาว

ข้อที่ 7. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของกรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก ( DNA)
ตัวเลือกที่ 1 : น้ำตาลไรโบส
ตัวเลือกที่ 2 : อะดีนีน
ตัวเลือกที่ 3 : หมู่ฟอสเฟต
ตัวเลือกที่ 4 : กรดไรโบนิวคลิอิก (RNA)

ข้อที่ 8. โครงสร้างของDNA สายหนึ่งมีคู่เบสเป็น A C A G ดังนั้นคู่เบสของ DNA อีกสายคือข้อใด
ตัวเลือกที่ 1 : A C A G
ตัวเลือกที่ 2 : C A G A
ตัวเลือกที่ 3 : T G T C
ตัวเลือกที่ 4 : G T T C

ข้อที่ 9. พิจารณาข้อความต่อไปนี้ ข้อใดถูก ก. ซากพืชซากสัตว์ จะถูกย่อยสลายเกิดเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ข. ในการกลั่นลำดับส่วนน้ำมันดิบ จะได้สารที่เป็นแก๊สออกมาก่อน ค. แก๊สหุงต้มในครัวเรือน ประกอบด้วยแก๊สมีเทนและโพรเพน ง. สารไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัว มีพันธะระหว่างคาร์บอนเป็นพันธะคู่
ตัวเลือกที่ 1 : ก ข
ตัวเลือกที่ 2 : ข ค
ตัวเลือกที่ 3 : ค ง
ตัวเลือกที่ 4 : ก ง

ข้อที่ 10. น้ำมันชนิดใดเหมาะกับเครื่องยนต์แก๊สโซลีนและไม่มีมลพิษ ก. น้ำมันที่มีไอโซออกเทนมากกว่าเฮปเทนมากๆ ข. น้ำมันที่มีการเติมสารเมทิลเทอร์เชียรีบิวทิลอีเทอร์ ค. น้ำมันที่มีเลขออกเทนต่ำกว่า 75 และเติมสารเตตระเมทิลเลต ง. น้ำมันที่มีเลขซีเทนสูงๆ
ตัวเลือกที่ 1 : ก ข
ตัวเลือกที่ 2 : ข ค
ตัวเลือกที่ 3 : ค ง
ตัวเลือกที่ 4 : ก ง

ข้อที่ 11. ข้อใดเป็นพอลิเมอร์ทั้งหมด
ตัวเลือกที่ 1 : แป้ง เซลลูโลส น้ำตาล
ตัวเลือกที่ 2 : โปรตีน พอลิเอทิลีน ยางพารา
ตัวเลือกที่ 3 : ไขมัน เตตระฟลูออโรเอทิลีน ไวนิลคอลไรด์
ตัวเลือกที่ 4 : ไกลโคเจน ซิลิโคน กลูโคส


ข้อที่ 12. พลาสติกชนิดใดไม่ใช่เทอร์โมพลาสติก
ตัวเลือกที่ 1 : A เป็นพลาสติกที่เมื่อได้รับความร้อนจะอ่อนตัว
ตัวเลือกที่ 2 : B เป็นพลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
ตัวเลือกที่ 3 : C เป็นพลาสติกที่สมบัติไม่เปลี่ยนแปลง
ตัวเลือกที่ 4 : D เป็นพลาสติกที่มีโครงสร้างแบบตาข่ายหรือร่างแห

ข้อที่ 13พิจารณาข้อความเกี่ยวกับยางต่อไปนี้ ข้อใดถูก ก. ยาง เกิดจากมอนอเมอร์ของธาตุซิลิคอน ข. ยางธรรมชาติ ทนต่อน้ำมันเบนซินและตัวละลายอินทรีย์ ค. การปรับปรุงคุณภาพยางธรรมชาติให้ดีขึ้น โดยนำมาคลุกกับกำมะถัน ง. ยาง SBR เกิดจากมอนอเมอร์ของสไตรีนและบิวทาไดอีน
ตัวเลือกที่ 1 : ก ข
ตัวเลือกที่ 2 : ข ค
ตัวเลือกที่ 3 : ค ง
ตัวเลือกที่ 4 : ก ง

ข้อที่ 14. ข้อใดกล่าวถูกต้อง ก. ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแล้วให้พลังงานความร้อนออกมา เรียกว่าปฏิกิริยาดูดความร้อน ข. ฝนกรดที่เกิดบริเวณที่มีการใช้ถ่านหิน จะเกิดจากแก๊สคาร์บอนมอนออกไซด์ ค.โอโซน เป็นแก๊สพิษ ทำให้เกิดการระคายเคืองกับดวงตาและทางเดินหายใจ ง. โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตหรือผงฟู ใช้ดับไฟป่าได้
ตัวเลือกที่ 1 : ก ข
ตัวเลือกที่ 2 : ข ค
ตัวเลือกที่ 3 : ค ง
ตัวเลือกที่ 4 : ก ง

ข้อที่ 15. ปฏิกิริยาในข้อใดมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาสูงสุด

ตัวเลือกที่ 

ตัวเลือกที่ 2 :

ตัวเลือกที่ 3 :
ตัวเลือกที่ 4 :




ข้อที่ 16. จากปฏิกิริยาต่อไปนี้ สาร ทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริก เกิดแก๊สไฮโดรเจน สาร ไม่ทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริก สาร ที่มีสาร พันอยู่ ทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริกได้เร็วมากและมีฟองแก๊สไฮโดรเจนเกิดขึ้นปริมาณมาก สารชนิดใดทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
ตัวเลือกที่ 1 : สาร A
ตัวเลือกที่ 2 : สาร B
ตัวเลือกที่ 3 : กรดไฮโดรคลอริก
ตัวเลือกที่ 4 : แก๊สไฮโดรเจน

ข้อที่ 17. ข้อใดคือสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุ ที่มีจำนวนอิเล็กตรอน 10 อนุภาค มีจำนวนนิวตรอน12 อนุภาค
ตัวเลือกที่ 1 :

ตัวเลือกที่ 2 :

ตัวเลือกที่ 3 :

ตัวเลือกที่ 4 :

ข้อที่ 18.


ตัวเลือกที่ 1 : ก ข
ตัวเลือกที่ 2 : ข ค
ตัวเลือกที่ 3 : ค ง
ตัวเลือกที่ 4 : ก ง

ข้อที่ 19. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับตารางธาตุ
ตัวเลือกที่ 1 : ตารางธาตุในปัจจุบันเรียงตามน้ำหนักอะตอม ตามหลักของดิมิทรีอิวาโนวิช เมนเดเลเอฟ
ตัวเลือกที่ 2 : ธาตุในหมู่ 1A มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1
ตัวเลือกที่ 3 : ธาตุแทรนซิชัน เป็นกึ่งโลหะ
ตัวเลือกที่ 4 : พันธะโคเวเลนซ์ เกิดจากการให้และรับอิเล็กตรอนระหว่างอะตอม

ข้อที่ 20. ธาตุชนิดหนึ่ง มีความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยาเคมีมาก เกิดสารประกอบกับโลหะ เป็นโลหะเฮไลด์ สามารถรับอิเล็กตรอนได้อีก1 อนุภาค ธาตุนี้น่าจะเป็นธาตุใด
ตัวเลือกที่ 1 : โซเดียม
ตัวเลือกที่ 2 : ฮีเลียม
ตัวเลือกที่ 3 : อะลูมิเนียม
ตัวเลือกที่ 4 : คลอรีน

PAT2 วิชาเคมี




เฉลย PAT2 วิชาเคมี

พร้อมคำอธิบายอย่างละเอียด

เฉลย PAT2 เคมี พร้อมคำอธิบาย




ดูโจทย์แนวข้อสอบ PAT2 เคมี


เรียนเคมีที่บ้าน

เรียนเคมีที่บ้าน

เรียนเคมีที่บ้าน

เรียนเคมีที่บ้าน

เรียนเคมีที่บ้าน

เรียนเคมีที่บ้าน







เรียนเคมีที่บ้าน

เรียนเคมีที่บ้าน

เรียนเคมีที่บ้าน

เรียนเคมีที่บ้าน

เรียนเคมีที่บ้าน

เรียนเคมีที่บ้าน

เรียนเคมีที่บ้าน

เรียนเคมีที่บ้าน

เรียนเคมีที่บ้าน

3.5 การใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ

จากการที่สารประกอบไอออนิกสารโคเวเลนต์และโลหะมีสมบัติเฉพาะตัวมาว่าการที่ต่างกันจึงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆได้ตามความเหมาะสม เช่น
- แอมโมเนียมคลอไรด์และซิงค์คลอไรด์ เป็นสารประกอบไอออนิกที่สามารถนำไฟฟ้าได้จากการแตกตัวเป็นไอออนเมื่อละลายน้ำจึงนำไปใช้เป็นสารอิเล็กโทรไลต์ในถ่านไฟฉาย
- พอลิไวนิลคลอไรด์หรือ PVC เป็นสารโคเวเลนต์ที่ไม่สามารถนำไฟฟ้าได้จึงเป็นฉนวนไฟฟ้าที่หุ้มสายไฟฟ้า
- ซิลิกอนคาร์ไบด์ เป็นสารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่ายที่มีจุดหลอมเหลวสูงและมีความแข็งแรงมากจึงนำไปใช้ทำเครื่องบด
- ทองแดงและอะลูมิเนียม เป็นโลหะที่นําไฟฟ้าได้ดีจึงนำไปใช้เป็นตัวนำไฟฟ้าอลูมิเนียมและเหล็กเป็นโลหะที่นําความร้อนได้ดีจึงนำไปทำภาชนะสำหรับประกอบอาหาร เช่น หม้อ กะทะ

3.4 พันธะโลหะ

พันธะโลหะ (Metallic Bond)  คือ แรงดึงดูดระหว่างไออนบวกซึ่งเรียงชิดกันกับอิเล็กตรอนที่อยู่โดยรอบหรือเป็นแรงยึดเหนี่ยวที่เกิดจากอะตอมในก้อนโลหะใช้เวเลนส์อิเล็กตรอนทั้งหมดร่วมกัน อิเล็กตรอนอิสระเกิดขึ้นได้ เพราะโลหะมีวาเลนส์อิเล็กตรอนน้อยและมีพลังงานไอออไนเซชันต่ำ จึงทำให้เกิดกลุ่มของอิเล็กตรอนและไอออนบวกได้ง่าย
พลังงานไอออไนเซชันของโลหะมีค่าน้อยมาก   แสดงว่าอิเล็กตรอนในระดับนอกสุดของโลหะถูกยึดเหนี่ยวไว้ไม่แน่นหนา   อะตอมเหล่านี้จึงเสียอิเล็กตรอนกลายเป็นไอออนบวกได้ง่าย   เมื่ออะตอมของโลหะมารวมกันเป็นกลุ่ม  ทุกอะตอมจะนำเวเลนซ์อิเล็กตรอนมาใช้ร่วมกัน   โดยอะตอมของโลหะจะอยู่ในสภาพของไอออนบวก   ส่วนเวเลนซ์อิเล็กตรอนทั้งหมดจะอยู่เป็นอิสระ   ไม่ได้เป็นของอะตอมใดอะตอมหนึ่งโดยเฉพาะ   แต่สามารถเคลื่อนที่ไปได้ทั่วทั้งก้อนโลหะ   และเนื่องจากอิเล็กตรอนเคลื่อนที่เร็วมาก   จึงมีสภาพคล้ายกับมีกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนปกคลุมก้อนโลหะนี้นอยู่   เรียกว่า ทะเลอิเล็กตรอน โดยมีไอออนบวกฝังอยู่ในกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนซึ่งเป็นลบ   จึงเกิดแรงดึงดูดที่แน่นหนาทั่วไปทุกตำแหน่งภายในก้อนโลหะนั้น ดังภาพ




สมบัติของโลหะ
  • เป็นตัวนำไฟฟ้าได้ดี เพราะมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่ไปได้ง่ายทั่วทั้งก้อนของโลหะ   แต่โลหะนำไฟฟ้าได้น้อยลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น   เนื่องจากไอออนบวกมีการสั่นสะเทือนด้วยความถี่และช่วงกว้างที่สูงขึ้นทำให้อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ไม่สะดวก
  • โลหะนำความร้อนได้ดี  เพราะมีอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ได้   โดยอิเล็กตรอนซึ่งอยู่ตรงตำแหน่งที่มีอุณหภูมิสูง  จะมีพลังงานจลน์สูง และอิเล็กตรอนที่มีพลังงานจลน์สูงจะเคลื่อนที่ไปยังส่วนอื่นของโลหะจึงสามารถถ่ายเทความร้อนให้แก่ส่วนอื่น ๆ ของแท่งโลหะที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าได้ 
  • โลหะตีแผ่เป็นแผ่นหรือดึงออกเป็นเส้นได้   เพราะไอออนบวกแต่ละไอออนอยู่ในสภาพเหมือนกันๆ กัน   และได้รับแรงดึงดูดจากประจุลบเท่ากันทั้งแท่งโลหะ ไอออนบวกจึงเลื่อนไถลผ่านกันได้โดยไม่หลุดจากกัน   เพราะมีกลุ่มของอิเล็กตรอนทำหน้าที่คอยยึดไอออนบวกเหล่านี้ไว้
  • โลหะมีผิวเป็นมันวาว   เพราะกลุ่มของอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ได้โดยอิสระจะรับและกระจายแสงออกมา   จึงทำให้โลหะสามารถสะท้อนแสงซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้
โลหะมีจุดหลอมเหลวสูง  เพราะพันธะในโลหะ   เป็นพันธะที่เกิดจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่างวาเลนซ์อิเล็กตรอนอิสระทั้งหมดในด้อนโลหะกับไอออนบวกจึงเป็นพันธะที่แข็งแรงมาก

3.3 พันธะโคเวเลนต์

พันธะโควาเลนต์ (Covalent bond) หมายถึง พันธะในสารประกอบที่เกิดขึ้นระหว่างอะตอม อะตอมที่มีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีใกล้เคียงกันหรือเท่ากัน แต่ละอะตอมต่างมีความสามารถที่จะดึงอิเล็กตรอนไว้กับตัว อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะจึงไม่ได้อยู่ ณ อะตอมใดอะตอมหนึ่งแล้วเกิดเป็นประจุเหมือนพันธะไอออนิก หากแต่เหมือนการใช้อิเล็กตรอนร่วมกันระหว่างอะตอมคู่ร่วมพันธะนั้นๆและมีจำนวนอิเล็กตรอนอยู่รอบๆ แต่ละอะตอมเป็นไปตามกฎออกเตต ดังภาพ



เป็นพันธะที่เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนข้างนอกร่วมกันระหว่างอะตอมของธาตุหนึ่งกับอีกธาตุหนึ่งแบ่งเป็น ชนิดด้วยกัน
1. พันธะเดี่ยว (Single covalent bond )เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน อิเล็กตรอน เช่น F2 Cl2 CH4 เป็นต้น




2. พันธะคู่ ( Doublecovalent bond ) เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกันของธาตุทั้งสองเป็นคู่ หรือ อิเล็กตรอน เช่น O2 CO2 C2H4 เป็นต้น




3. พันธะสาม ( Triple covalent bond ) เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน อิเล็กตรอน ของธาตุทั้งสอง เช่น N2 C2H2 เป็นต้น




การอ่านชื่อสารประกอบโควาเลนซ์


  • สารประกอบของธาตุคู่ ให้อ่านชื่อธาตุที่อยู่ข้างหน้าก่อน แล้วตามด้วยชื่อธาตุที่อยู่หลัง โดยเปลี่ยนเสียงพยางค์ท้ายเป็น “ ไอด์” (ide)
  • ให้ระบุจำนวนอะตอมของแต่ละธาตุด้วยเลขจำนวนในภาษากรีก ดังตาราง
  • ถ้าสารประกอบนั้นอะตอมของธาตุแรกมีเพียงอะตอมเดียว ไม่ต้องระบุจำนวนอะตอมของธาตุนั้น แต่ถ้าเป็นอะตอมของธาตุหลังให้อ่าน “ มอนอ” เสมอ

  


  
การพิจารณารูปร่างโมเลกุลโควาเลนต์  
โมเลกุลโควาเลนต์ในสามมิตินั้น สามารถพิจารณาได้จากการผลักกันของอิเล็กตรอนที่มีอยู่รอบๆ อะตอมกลางเป็นสำคัญ โดยอาศัยหลักการที่ว่า อิเล็กตรอนเป็นประจุลบเหมือนๆ กัน ย่อมพยายามที่แยกตัวออกจากกนให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ ดังนั้นการพิจารณาหาจำนวนกลุ่มของอิเล็กตรอนที่อยู่รอบๆ นิวเคลียสและอะตอมกลาง จะสามารถบ่งบอกถึงโครงสร้างของโมเลกุลนั้น ๆ ได้ โดยที่กลุ่มต่างๆ มีดังนี้
อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
อิเล็กตรอนคู่รวมพันธะได้แก่ พันธะเดี่ยว พันธะคู่ และพันธะสาม
ทั้งนี้โดยเรียงตามลำดับความสารารถในการผลักอิเลคตรอนกลุ่มอื่นเนื่องจากอิเลคตรอนโดดเดี่ยวและอิเลคตรอนที่สร้างพันธะนั้นต่างกันตรงที่อิเล็กตรอนโดยเดี่ยวนั้นถูกยึดด้วยอะตอมเพียงตัวเดียว ในขณะที่อิเล็กตรอนที่ใช้สร้างพันธะถูกยึดด้วยอะตอม ตัวจึงเป็นผลให้อิเลคตรอนโดดเดี่ยวมีอิสระมากกว่าสามารถครองพื้นที่ในสามมิตได้มากกว่า ส่วนอิเล็กตรอนเดี่ยวและอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว รวมไปถึงอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะแบบต่าง ๆ นั้นมีจำนวนอิเลคตรอนไม่เท่ากันจึงส่งผลในการผลักอิเลคตรอนกลุ่มอื่นๆ ได้มีเท่ากัน โครงสร้างที่เกิดจกการผลักกันของอิเล็กตรอนนั้น สามารถจัดเป็นกลุ่มได้ตามจำนวนของอิเล็กรอนที่มีอยู่ได้ตั้งแต่ กลุ่ม กลุ่ม กลุ่ม ไปเรื่อยๆ เรียกวิธีการจัดตัวแบบนี้ว่า ทฤษฎีการผลักกันของคู่อิเล็กตรอนวงนอก (Valence Shell Electron Pair Repulsion : VSEPR) ดังภาพ
ภาพแสดงรูปร่างโครงสร้างโมเลกุลโควาเลนต์แบบต่างๆ ตามทฤษฎี VSEPR




หมายเหตุ A คือ จำนวนอะตอมกลาง (สีแดง)
คือ จำนวน อิเล็กตรอนคู่รวมพันธะ (สีน้ำเงิน)
คือ จำนวนอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว (สีเขียว)

แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล ( Van de waals interaction)
เนื่องจากโมเลกุลโควาเลนต์ปกติจะไม่ต่อเชื่อมกันแบบเป็นร่างแหอย่างพันธะโลหะหรือไอออนิก แต่จะมีขอบเขตที่แน่นอนจึงต้องพิจารณาแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลด้วย ซึ่งจะเป็นส่วนที่ใช้อธิบายสมบัติทางกายภาพของโมเลกุลโควาเลนต์ อันได้แก่ ความหนาแน่น จุดเดือด จุดหลอมเหลว หรือความดันไอได้ โดยแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลนั้นเกิดจากแรงดึงดูดเนื่องจากความแตกต่างของประจุเป็นสำคัญ ได้แก่
1. แรงลอนดอน ( London Force) เป็นแรงที่เกิดจากการดึงดูดทางไฟฟ้าของโมเลกุลที่ไม่มีขั้วซึ่งแรงดึงดูดทางไฟฟ้านั้นเกิดได้จากการเลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอย่างเสียสมดุลทำให้เกิดขั้วเล็กน้อย และขั้วไฟฟ้าเกิดขึ้นชั่วคราวนี้เอง จะเหนี่ยวนำกับโมเลกุลข้างเคียงให้มีแรงยึดเหนี่ยวเกิดขึ้น ดังภาพ




อิเล็กตรอนสม่ำเสมอ........................อิเล็กตรอนมีการเปลี่ยนแปลงตามเวลา
ดังนั้นยิ่งโมเลกุลมีขนาดใหญ่ก็จุยิ่งมีโอกาสที่อิเลคตรอนเคลื่อนที่ได้เสียสมดุลมากจึงอาจกล่าวได้ว่าแรงลอนดอนแปรผันตรงกับขนาดของโมเลกุล เช่น F2 Cl2 Br2 I2 และ CO2 เป็นต้น
2. แรงดึงดูดระหว่างขั้ว (Dipole-Dipole interaction)เป็นแรงยึดเหนี่ยวที่เกิดระหว่างโมเลกุลที่มีขั้วสองโมเลกุลขึ้นไปเป็นแรงดึงดูดทางไฟฟ้าที่แข็งแรงกว่าแรงลอนดอน เพราะเป็นขั้นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นอย่างถาวร โมเลกุลจะเอาด้านที่มีประจุตรงข้ามกันหันเข้าหากัน ตามแรงดึงดูดทางประจุ เช่น H2O HCl H2S และ CO เป็นต้น ดังภาพ
3. พันธะไฮโดรเจน ( hydrogen bond ) เป็นแรงยึดเหนี่ยวที่มีค่าสูงมาก โดยเกิดระหว่างไฮโดรเจนกับธาตุที่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวเหลือ เกิดขึ้นได้ต้องมีปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ไฮโดรเจนที่ขาดอิเล็กตรอนอันเนื่องจากถูกส่วนที่มีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีสูงในโมเลกุลดึงไป จนกระทั้งไฮโดรเจนมีสภาพเป็นบวกสูงและจะต้องมีธาตุที่มีอิเลคตรอนคู่โดดเดี่ยวเหลือและมีความหนาแน่นอิเลคตรอนสูงพอให้ไฮโดรเจนที่ขาดอิเลคตรอนนั้น เข้ามาสร้างแรงยึดเหนี่ยวด้วยได้เช่น H2O HF NH3 เป็นต้น ดังภาพ




สภาพขั้วของโมเลกุลน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์


การเกิดพันธะไฮโดรเจนของโมเลกุลน้ำ

ข้อสอบ O-NET ปี 2550

ข้อที่ 1. สารชีวโมเลกุลชนิดใดมีมากที่สุดของน้ำหนักแห้งในร่างกายคน ตัวเลือกที่ 1 : ไขมัน ตัวเลือกที่ 2 : โปรตีน ตัวเลือกที่ 3 : คาร์ไบ...