การทำปฏิบัติการเคมีนอกจากจะต้องมีการวางแผนการทดลองการทำการทดลองการบันทึกข้อมูลการสรุปและวิเคราะห์ข้อมูลการนำเสนอข้อมูลและการเขียนรายงานการทำการทดลองที่ถูกต้องแล้วต้องคำนึงถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์วิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการศึกษาหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มีแบบแผนขั้นตอนโดยภาพรวมสามารถทำได้ดังนี้
1.การสังเกตเป็นจุดเริ่มต้นของการได้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องศึกษาโดยอาศัยประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือการมองเห็นการฟังเสียงการได้กลิ่นการรับรสและการสัมผัส
2.การตั้งสมมติฐาน ในการคาดคะเนคําตอบของปัญหาหรือคำตอบของ คำถาม โดยมีพื้นฐานจากการสังเกตความรู้หรือประสบการณ์เดิมโดยทั่วไปสมมุติฐานจะเขียนอยู่ในรูปของข้อความที่แสดงเหตุ ผลหรืออีกนัยหนึ่งจะเป็นความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นและตัวแปรตาม
3.การตรวจสอบสมมติฐานเป็นกระบวนการการหาคำตอบของสมมติฐานโดยมีการออกแบบทดลองให้มีการควบคุมปัจจัยต่างๆ
4.การรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ผลเป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการ สังเกตการตรวจสอบสมมติฐานมารวบรวมวิเคราะห์และอธิบายข้อเท็จจริง
5.การสรุปผลเป็นการสรุปความรู้หรือข้อเท็จจริงที่ได้จากการตรวจสอบสมมติฐานและมีการเปรียบเทียบกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ก่อนหน้า
ทั้งนี้ในการศึกษาความรู้ทางวิทยาศาสตร์นั้นไม่มีรูปแบบที่ตายตัวด้วยอาจจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับคำถามบริบท หรือวิธีการที่ใช้ในการตรวจสอบคำถาม
วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2562
1.4 หน่วยวัด
การระบุหน่วยของการวัดปริมาตรต่างๆ ในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นความยาวมวลอุณหภูมิอาจแตกต่างกันแต่ละประเทศ และในบางกรณี นำไปสู่ความเข้าใจผิดที่ทำให้เกิดความเสียหายดังนั้นเพื่อให้การสื่อสารข้อมูลของการวัดเป็นการเข้าใจตรงกันมากขึ้นจึงมีการตกลงร่วมกันให้มีหน่วยมาตรฐานสากลขึ้น
1.4.1 หน่วยในระบบ SI
เป็นหน่วยที่ดัดแปลงจากหน่วยในระบบเมทริกซ์ โดยแบ่งเป็นหน่วยพื้นฐานมี 7 หน่วยคือ
มวล มีหน่วยเป็นกิโลกรัม อุณหภูมิ มีหน่วยเป็นเคลวิน
ความยาว มีหน่วยเป็นเมตร ปริมาตรของสาร มีหน่วยเป็นโมล
เวลา มีหน่วยเป็นวินาที กระแสไฟฟ้า มีหน่วยเป็นแอมแปร์
ความเข้มแห่งการส่องสว่าง มีหน่วยเป็นแคนเดลา
เป็นหน่วย SI อนุพันธ์อีก 3 หน่วย
เช่น ปริมาตร มีหน่วยเป็นลิตร มวล มีหน่วยเป็นกรัมหรือดอลตันหรือหน่วยมวลอะตอม ความดัน มีหน่วยเป็นบาร์ มิลลิเมตรปรอท หรือบรรยากาศ
ความยาว มีหน่วยเป็นอังสตรอม พลังงาน มีหน่วยเป็นแคลอรี อุณหภูมิ มีหน่วยเป็นองศาเซลเซียส
1.4.2 แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย
เป็นอัตราส่วนระหว่างหน่วยที่แตกต่างกันสองหน่วยที่มีปริมาณเท่ากัน ตัวอย่างดังนี้
1.4.1 หน่วยในระบบ SI
เป็นหน่วยที่ดัดแปลงจากหน่วยในระบบเมทริกซ์ โดยแบ่งเป็นหน่วยพื้นฐานมี 7 หน่วยคือ
มวล มีหน่วยเป็นกิโลกรัม อุณหภูมิ มีหน่วยเป็นเคลวิน
ความยาว มีหน่วยเป็นเมตร ปริมาตรของสาร มีหน่วยเป็นโมล
เวลา มีหน่วยเป็นวินาที กระแสไฟฟ้า มีหน่วยเป็นแอมแปร์
ความเข้มแห่งการส่องสว่าง มีหน่วยเป็นแคนเดลา
เป็นหน่วย SI อนุพันธ์อีก 3 หน่วย
ปริมาตร มีหน่วยเป็นลูกบาศก์เมตร ความเข้มข้นมีหน่วยเป็นโมลต่อลูกบาศก์เมตร
ความหนาแน่น มีหน่วยเป็นกิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
หน่วยนอกระบบ SI ในเคมียังมีหน่วยอื่นที่ได้รับการยอมรับและมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น ปริมาตร มีหน่วยเป็นลิตร มวล มีหน่วยเป็นกรัมหรือดอลตันหรือหน่วยมวลอะตอม ความดัน มีหน่วยเป็นบาร์ มิลลิเมตรปรอท หรือบรรยากาศ
ความยาว มีหน่วยเป็นอังสตรอม พลังงาน มีหน่วยเป็นแคลอรี อุณหภูมิ มีหน่วยเป็นองศาเซลเซียส
1.4.2 แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย
เป็นอัตราส่วนระหว่างหน่วยที่แตกต่างกันสองหน่วยที่มีปริมาณเท่ากัน ตัวอย่างดังนี้
จากความสัมพันธ์พลังงาน 1 cal = 4.2 J
เมื่อใช้1 cal หารทั้งสองข้างจะได้เป็น
1 cal / 1 cal = 4.2 J / 1 cal
1 = 4.2 J / 1 cal
หรือถ้าใช้ 4.2 J หารทั้งสองข้างจะได้เป็น
1 cal / 4.2 J = 4.2 J / 4.2 J
1 cal / 4.2 J = 1
ดังนั้นแฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วยเขียนได้เป็น 1 cal / 4.2 J หรือ 4.2 J / 1 cal
วิธีการเทียบหน่วย
ทำได้โดยการคูณปริมาณในหน่วยเริ่มต้นด้วยแฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วยที่มีหน่วยที่ต้องการอยู่ด้านบนตามสมการ
ปริมาณและหน่วยที่ต้องการ = ปริมาณและหน่วยเริ่มต้น * หน่วยที่ต้องการ / หน่วยเริ่มต้น
1 cal / 4.2 J = 1
ดังนั้นแฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วยเขียนได้เป็น 1 cal / 4.2 J หรือ 4.2 J / 1 cal
วิธีการเทียบหน่วย
ทำได้โดยการคูณปริมาณในหน่วยเริ่มต้นด้วยแฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วยที่มีหน่วยที่ต้องการอยู่ด้านบนตามสมการ
ปริมาณและหน่วยที่ต้องการ = ปริมาณและหน่วยเริ่มต้น * หน่วยที่ต้องการ / หน่วยเริ่มต้น
1.3 การวัดปริมาณสาร
ในปฏิบัติการเคมีจำเป็นต้องมีการชั่ง ตวง และวัดปริมาณสารซึ่งการชั่ง ตวง วัดมีความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากอุปกรณ์ ที่ใช้หรือผู้ทำปฏิบัติการที่จะส่งผลให้ผลการทดลองที่ได้มีความมากกว่าหรือน้อยกว่าค่าจริง ความน่าเชื่อถือของข้อมูลสามารถพิจารณาได้ 2 ส่วนด้วยกันคือความเที่ยง และความแม่นของข้อมูลโดยความเที่ยงคือ ความใกล้เคียงของข้าวที่ได้จากการวัดส่วนความแม่นคือความใกล้เคียงของค่าเฉลี่ยจากการวัดซ้ำเทียบกับค่าจริง
1.3.1 อุปกรณ์วัดปริมาตร อุปกรณ์วัดปริมาณสารเคมีที่เป็นของเหลวที่ใช้ในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์มีหลายชนิด แต่ละชนิดมีขีดและตัวเลขแสดงปริมาตรที่ได้จากการตรวจสอบมาตรฐานและกำหนดความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้บางชนิดมีความคลาดเคลื่อนน้อย บางชนิดมีความคาดเคลื่อนมาก ปริมาตรและระดับความหน้าที่ต้องการอุปกรณ์วัดปริมาตรบางชนิดที่นักเรียนได้ใช้ในงานในการทำปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ที่ผ่านมา เช่นบีกเกอร์ ขวดรูปกรวยกระบอกตวงเป็นอุปกรณ์ที่ไม่สามารถบอกปริมาตรได้แม่นมากพอสำหรับการทดลองในการปฏิบัติการบางการปฏิบัติการ
- บีกเกอร์ มีลักษณะเป็นทรงกระบอกปากว่ามีขีดบอกปริมาตรในระดับมิลลิลิตร
- ขวดรูปกรวย มีลักษณะคล้ายขนชมพู่มีขีดบอกปริมาตรในระดับมิลลิลิตร มีหลายขนาด มีหลายขนาด
- กระบอกตวง มีลักษณะเป็นทรงกระบอกมีขีดบอกปริมาตรในระดับ มิลลิลิตร มีหลายขนาด
นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ที่สามารถวัดปริมาตรของของเหลวได้มากกว่าอุปกรณ์ ข้างต้น เช่น
- ปิเปตต์ เป็นอุปกรณ์วัดปริมาตรที่มีความแม่นยำสูง ใช้สำหรับถ่ายเทของเหลว มี 2 แบบแบบปริมาตรที่มีกระเปาะตรงกลางมีขีดบอกปริมาตร เพียงค่ายเดียวและแบบใช้ตวงมีขีดบอกปริมาตรหลายค่า
- บิวเรตต์ เป็นอุปกรณ์สำหรับถ่ายเทของเหลวในปริมาตรต่างๆตามต้องการ มีลักษณะเป็นทรงกระบอกที่มีขีดบอกปริมาตรและมีอุปกรณ์ควบคุมการไหลของของเหลวที่เรียกว่า ก๊อกปิดเปิด ขวดกำหนดปริมาตรเป็นอุปกรณ์สำหรับวัดปริมาตรของของเหลวที่บรรจุอยู่ภายในใช้สำหรับเตรียมสารละลายที่ต้องการความเข้มข้นแน่นอนมีขีดบอกปริมาตรเพียงขีดเดียวมีจุกปิดสนิทขวดกำหนดปริมาตรมีหลายขนาด
การใช้อุปกรณ์วัดปริมาตรเหล่านี้ให้ได้ค่าที่น่าเชื่อถือ จะต้องมีการอ่านปริมาตรของของเหลวให้ถูกวิธี โดยต้องให้อยู่ในระดับสายตา
1.3.2 อุปกรณ์วัดมวล
เครื่องชั่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวัดมวลทั้งที่เป็นของแข็งและของเหลวความน่าเชื่อถือของค่าวัดมวลที่ได้ขึ้นอยู่กับความละเอียดของเครื่องชั่งและวิธีการใช้เครื่องชั่ง เครื่องชั่งมี 2 แบบแบบเครื่องชั่งสามคานและเครื่องชั่งไฟฟ้า
เครื่องชั่งไฟฟ้า
1.3.3 เลขนัยสำคัญ
การนับเลขนัยสำคัญ มีหลักการดังนี้
1.ตัวเลขที่ไม่ใช่ 0 ทั้งหมด ถือว่าเป็นเลขนัยสำคัญ
2.เลข 0 ที่อยู่ระหว่างตัวอื่นถือว่าเป็นเลขนัยสำคัญ
3.เลข ที่อยู่หน้าตัวเลขอื่นไม่ถือว่าเป็นเลขนัยสําคัญ
4.เลข 0 ที่อยู่หลังตัวเลขอื่นที่เป็นอยู่หลังทศนิยม ถือว่าเป็นเลขนัยสำคัญ
5.เลข 0 ที่อยู่หลังเลขที่ไม่มีทศนิยมอาจนับเป็นเลขนัยสำคัญ หรือไม่นับก็ได้
6.ตัวเลขที่แม่นตรงเป็นตัวเลขที่ซ้ำเข้าแน่นอนมีเลขนัยสำคัญเป็น อนันต์
7.ข้อมูลที่มีค่าน้อยมากๆหรือเขียนในรูปของสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ ตัวเลข สัมประสิทธิ์ ทุกตัวนับเป็นนัยสำคัญ
การปัดตัวเลข พิจารณาจากตัวเลขที่อยู่ถัดจากตำแหน่งที่ต้องการดังนี้
1.กรณีที่ตัวเลขถัดจากตำแหน่งที่ต้องการมีค่าน้อยกว่า 5 ให้ตัดตัวเลขที่ อยู่ถัดไปทั้งหมด
2.กรณีที่ตัวเลขถัดจากตำแหน่งที่ต้องการมีค่ามากกว่า 5 ให้เพิ่มค่าของตัวเลขตำแหน่งสุดท้ายที่ต้องการอีก 1
3.กรณีที่ตัวเลขถัดจากตำแหน่งที่ต้องการมีค่าเท่ากับ 5 และมีตัวเลขอื่นที่ไม่ใช่ศูนย์ต่อจากเลข 5 ให้เพิ่มค่าของตัวเลขตำแหน่งสุดท้ายอีก 1
4.กรณีที่ตัวเลขถัดจากตำแหน่งที่ต้องการมีค่าเท่ากับ 5 และไม่มีตัวเลขอื่นต่อจากเลข 5 ต้องพิจารณาตัวเลขที่อยู่ หน้าเลข 5 ดังนี้
4.1 ภาคตัวเลขที่อยู่หน้าเลข 5 เป็นเลขคี่ ให้ตัวเลขดังกล่าวบวกค่าเพิ่มอีก 1 แล้วแต่ตัวเลขตั้งแต่เลข 5 ไปทั้งหมด
4.2 หาตัวเลขที่อยู่หน้าเลข 5 เป็นเลขคู่ให้ตัวเลขดังกล่าวเป็นเลขตัวเดิมตัว แล้วแต่ตัวเลขตั้งแต่เลข 5 ไปทั้งหมด
การบวกและการลบ ในการบวกและการลบผลที่ได้จะมีจำนวนตัวเลขที่อยู่หลังจุดทศนิยมเท่ากับข้อมูลที่มีจำนวนตัวเลขที่อยู่หลังจุดทศนิยมน้อยที่สุด
การคูณและการหาร ในการคูณและการหารผลที่ได้จะมีจำนวนเลขนัยสำคัญเท่ากับข้อมูลที่มีเลขนัยสำคัญน้อยที่สุด
1.3.1 อุปกรณ์วัดปริมาตร อุปกรณ์วัดปริมาณสารเคมีที่เป็นของเหลวที่ใช้ในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์มีหลายชนิด แต่ละชนิดมีขีดและตัวเลขแสดงปริมาตรที่ได้จากการตรวจสอบมาตรฐานและกำหนดความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้บางชนิดมีความคลาดเคลื่อนน้อย บางชนิดมีความคาดเคลื่อนมาก ปริมาตรและระดับความหน้าที่ต้องการอุปกรณ์วัดปริมาตรบางชนิดที่นักเรียนได้ใช้ในงานในการทำปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ที่ผ่านมา เช่นบีกเกอร์ ขวดรูปกรวยกระบอกตวงเป็นอุปกรณ์ที่ไม่สามารถบอกปริมาตรได้แม่นมากพอสำหรับการทดลองในการปฏิบัติการบางการปฏิบัติการ
- บีกเกอร์ มีลักษณะเป็นทรงกระบอกปากว่ามีขีดบอกปริมาตรในระดับมิลลิลิตร
- ขวดรูปกรวย มีลักษณะคล้ายขนชมพู่มีขีดบอกปริมาตรในระดับมิลลิลิตร มีหลายขนาด มีหลายขนาด
- กระบอกตวง มีลักษณะเป็นทรงกระบอกมีขีดบอกปริมาตรในระดับ มิลลิลิตร มีหลายขนาด
นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ที่สามารถวัดปริมาตรของของเหลวได้มากกว่าอุปกรณ์ ข้างต้น เช่น
- ปิเปตต์ เป็นอุปกรณ์วัดปริมาตรที่มีความแม่นยำสูง ใช้สำหรับถ่ายเทของเหลว มี 2 แบบแบบปริมาตรที่มีกระเปาะตรงกลางมีขีดบอกปริมาตร เพียงค่ายเดียวและแบบใช้ตวงมีขีดบอกปริมาตรหลายค่า
- บิวเรตต์ เป็นอุปกรณ์สำหรับถ่ายเทของเหลวในปริมาตรต่างๆตามต้องการ มีลักษณะเป็นทรงกระบอกที่มีขีดบอกปริมาตรและมีอุปกรณ์ควบคุมการไหลของของเหลวที่เรียกว่า ก๊อกปิดเปิด ขวดกำหนดปริมาตรเป็นอุปกรณ์สำหรับวัดปริมาตรของของเหลวที่บรรจุอยู่ภายในใช้สำหรับเตรียมสารละลายที่ต้องการความเข้มข้นแน่นอนมีขีดบอกปริมาตรเพียงขีดเดียวมีจุกปิดสนิทขวดกำหนดปริมาตรมีหลายขนาด
การใช้อุปกรณ์วัดปริมาตรเหล่านี้ให้ได้ค่าที่น่าเชื่อถือ จะต้องมีการอ่านปริมาตรของของเหลวให้ถูกวิธี โดยต้องให้อยู่ในระดับสายตา
1.3.2 อุปกรณ์วัดมวล
เครื่องชั่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวัดมวลทั้งที่เป็นของแข็งและของเหลวความน่าเชื่อถือของค่าวัดมวลที่ได้ขึ้นอยู่กับความละเอียดของเครื่องชั่งและวิธีการใช้เครื่องชั่ง เครื่องชั่งมี 2 แบบแบบเครื่องชั่งสามคานและเครื่องชั่งไฟฟ้า
เครื่องชั่งสามคาน
1.3.3 เลขนัยสำคัญ
การนับเลขนัยสำคัญ มีหลักการดังนี้
1.ตัวเลขที่ไม่ใช่ 0 ทั้งหมด ถือว่าเป็นเลขนัยสำคัญ
2.เลข 0 ที่อยู่ระหว่างตัวอื่นถือว่าเป็นเลขนัยสำคัญ
3.เลข ที่อยู่หน้าตัวเลขอื่นไม่ถือว่าเป็นเลขนัยสําคัญ
4.เลข 0 ที่อยู่หลังตัวเลขอื่นที่เป็นอยู่หลังทศนิยม ถือว่าเป็นเลขนัยสำคัญ
5.เลข 0 ที่อยู่หลังเลขที่ไม่มีทศนิยมอาจนับเป็นเลขนัยสำคัญ หรือไม่นับก็ได้
6.ตัวเลขที่แม่นตรงเป็นตัวเลขที่ซ้ำเข้าแน่นอนมีเลขนัยสำคัญเป็น อนันต์
7.ข้อมูลที่มีค่าน้อยมากๆหรือเขียนในรูปของสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ ตัวเลข สัมประสิทธิ์ ทุกตัวนับเป็นนัยสำคัญ
การปัดตัวเลข พิจารณาจากตัวเลขที่อยู่ถัดจากตำแหน่งที่ต้องการดังนี้
1.กรณีที่ตัวเลขถัดจากตำแหน่งที่ต้องการมีค่าน้อยกว่า 5 ให้ตัดตัวเลขที่ อยู่ถัดไปทั้งหมด
2.กรณีที่ตัวเลขถัดจากตำแหน่งที่ต้องการมีค่ามากกว่า 5 ให้เพิ่มค่าของตัวเลขตำแหน่งสุดท้ายที่ต้องการอีก 1
3.กรณีที่ตัวเลขถัดจากตำแหน่งที่ต้องการมีค่าเท่ากับ 5 และมีตัวเลขอื่นที่ไม่ใช่ศูนย์ต่อจากเลข 5 ให้เพิ่มค่าของตัวเลขตำแหน่งสุดท้ายอีก 1
4.กรณีที่ตัวเลขถัดจากตำแหน่งที่ต้องการมีค่าเท่ากับ 5 และไม่มีตัวเลขอื่นต่อจากเลข 5 ต้องพิจารณาตัวเลขที่อยู่ หน้าเลข 5 ดังนี้
4.1 ภาคตัวเลขที่อยู่หน้าเลข 5 เป็นเลขคี่ ให้ตัวเลขดังกล่าวบวกค่าเพิ่มอีก 1 แล้วแต่ตัวเลขตั้งแต่เลข 5 ไปทั้งหมด
4.2 หาตัวเลขที่อยู่หน้าเลข 5 เป็นเลขคู่ให้ตัวเลขดังกล่าวเป็นเลขตัวเดิมตัว แล้วแต่ตัวเลขตั้งแต่เลข 5 ไปทั้งหมด
การบวกและการลบ ในการบวกและการลบผลที่ได้จะมีจำนวนตัวเลขที่อยู่หลังจุดทศนิยมเท่ากับข้อมูลที่มีจำนวนตัวเลขที่อยู่หลังจุดทศนิยมน้อยที่สุด
การคูณและการหาร ในการคูณและการหารผลที่ได้จะมีจำนวนเลขนัยสำคัญเท่ากับข้อมูลที่มีเลขนัยสำคัญน้อยที่สุด
1.2 อุบัติเหตุจากสารเคมี
ในการทำปฏิกิริยาเคมีต่างๆจากการใช้สารเคมีได้ ซึ่งหากผู้ทำการปฏิบัติการมีความรู้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น จะสามารถลดความรุนแรง แล้วความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ เบื้องต้นจากอุบัติเหตุจากการใช้สารเคมี มีข้อปฏิบัติดังนี้
การปฐมพยาบาลเมื่อร่างกายสัมผัสสารเคมี
1.ถอดเสื้อผ้าบริเวณที่เปื้อนสารเคมีออก และใช้สารเคมีออกจากร่างกายให้มากที่สุด 2.กรณีที่เป็นสารเคมีที่ละลายน้ำได้ให้ล้านบริเวณที่สัมผัสสารเคมีด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านในปริมาณมาก 3.กรณีเป็นสารเคมีที่ไม่ละลายน้ำ ให้ร้านบริเวณที่สัมผัสสารเคมีด้วยน้ำสบู่ 4.อยากทราบว่าสารเคมีที่สัมผัสร่างกายคือสารใด ให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในเอกสารความปลอดภัยของสารเคมี กรณีที่นั่งการสัมผัสสารเคมีในปริมาณมากหรือมีความเข้มข้นสูงให้ปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้วนำส่งแพทย์ การปฐมพยาบาลเมื่อสารเคมีเข้าตา ตะแคงศีรษะให้ตาด้านที่สัมผัสสารเคมีอยู่ด้านล่างรายการเปิดน้ำเบาเบาๆไหลผ่านดั้งจมูก ให้น้ำไหลผ่านตาข้างที่โดยสารเคมีพยายามลืมตาและขอบตาในน้ำอย่างน้อย 10 นาทีหรือจนกว่าจะแน่ใจว่าฉันล้างสารออกหมดแล้ว ระวังไม่ให้น้ำเข้าตาอีกข้างหนึ่งและนำส่งแพทย์ในทันที การปฐมพยาบาลเมื่อสูดดมแก๊สพิษ 1.เมื่อมีแก๊สพิษเกิดขึ้น ต้องรีบออกจากบริเวณในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกทันที 2.หากมีผู้ที่สูดดมแก๊สผิดจนหมดสติหรือไม่สามารถช่วยตนเองได้ ต้องลิ้มเคลื่อนย้ายออกจากบริเวณนั้นทันที โดยที่ผู้ช่วยเหลือต้องส่งอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสมเช่นหน้ากากป้องกันแก๊สพิษหรือผ้าปิดปาก 3.ปลดเสื้อผ้า เพื่อให้ผู้ประสบอุบัติเหตุหายใจได้สะดวกถ้าหมดสติให้จับนอนคว่ำแล้วตะแคงหน้าไปทางด้านใดด้านหนึ่งเพื่อป้องกันโคลน กีดขวางทางเดินหายใจการปฐมพยาบาลเมื่อโดนความร้อน แช่น้ำเย็นหรือปิดแผลด้วยผ้าชุบน้ำจนกว่าจะหายปวดแสบปวดร้อนและทายาขี้ผึ้งสำหรับไฟไหม้และน้ำร้อนลวก ถ้าเกิดบาดแผลใหญ่ให้นำส่งแพทย์ กรณีที่สารเคมีเข้าตาให้ปฏิบัติตามคำแนะนำตามเอกสารความปลอดภัยแล้วนำส่งแพทย์ทุกกรณี1.1 ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี
การทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมีโดยมีผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการขาดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้น เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานและผู้ร่วมงานนอกจากนั้น อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุที่สร้างความเสียหายร้ายแรงต่อทรัพย์สินของสถานประกอบกิจการรวมทั้งก่อปัญหาทางสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสถานประกอบกิจการสารเคมีสามารถทำอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานได้ หากผู้ปฏิบัติงานได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายอาจเกิดอันตรายได้โดยทันที เช่น มีอาการปวดศีรษะ คลื่นใส้ อาเจียน หายใจลำบาก ผิวหนังไหม้ เป็นต้น และเมื่อร่างกายได้รับสารเคมีสะสมเป็นระยะเวลายาวนาน ทำให้เกิดอาการแบบเรื้อรัง เช่น ระบบประสาทถูกทำลาย ปอดถูกทำลาย เป็นมะเร็ง เป็นต้น
1.1.1 ประเภทของสารเคมี สารเคมีมีหลายประเภท แต่ละประเภทมีสมบัติแตกต่างกัน สารเคมีจึงจําเป็นต้องมีฉลากที่มี ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นอันตรายของสารเคมีเพื่อความปลอดภัยในการจัดเก็บ การนําไปใช้ และการ กําจัด โดยฉลากของสารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการควรมีข้อมูล ดังนี้
1. ชื่อผลิตภัณฑ์
2. รูปสัญลักษณ์ แสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี
3. คําเตือน ข้อมูลความเป็นอันตราย และข้อควรระวัง
4. ข้อมูลของบริษัทผู้ผลิตสารเคม
1.1.1 ประเภทของสารเคมี สารเคมีมีหลายประเภท แต่ละประเภทมีสมบัติแตกต่างกัน สารเคมีจึงจําเป็นต้องมีฉลากที่มี ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นอันตรายของสารเคมีเพื่อความปลอดภัยในการจัดเก็บ การนําไปใช้ และการ กําจัด โดยฉลากของสารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการควรมีข้อมูล ดังนี้
1. ชื่อผลิตภัณฑ์
2. รูปสัญลักษณ์ แสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี
3. คําเตือน ข้อมูลความเป็นอันตราย และข้อควรระวัง
4. ข้อมูลของบริษัทผู้ผลิตสารเคม
สัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายมีหลายระบบ ในที่นี้จะกล่าวถึง 2 ระบบ ที่ มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ Globally Harmonized System of Classifi cation and Labelling of Chemicals (GHS) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้สากล และ National Fire Protection Association Hazard Identifi cation System (NFPA) เป็นระบบที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา
1.1.2 ข้อควรปฏิบัติในการทําปฏิบัติการเคมี การทําปฏิบัติการเคมีให้เกิดความปลอดภัยนอกจากต้องทราบข้อมูลของสารเคมีที่ใช้แล้ว ผู้ทําปฏิบัติการควรทราบเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเบื้องต้นทั้งก่อน ระหว่าง และหลังทําปฏิบัติการ ดังต่อไปนี้
ก่อนทําปฏิบัติการ
1) ศึกษาขั้นตอนหรือวิธีการทําปฏิบัติการให้เข้าใจ วางแผนการทดลอง หากมีข้อสงสัยต้อง สอบถามครูผู้สอนทันที
2) ศึกษาข้อมูลของสารเคมีง เทคนิคการใช้เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ตลอดจน วิธีการทดลองที่ถูกต้องและปลอดภัย
3) แต่งกายให้เหมาะสม
สารเคมีที่ใช้แล้วหรือเหลือใช้จากการทําปฏิบัติการเคมี จําเป็นต้องมีการกําจัดอย่างถูกวิธี เพื่อ
ให้เกิดความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต
การกําจัดสารเคมีแต่ละประเภท สามารถปฏิบัติได้ดังนี้
1) สารเคมีที่เป็นของเหลวไม่อันตรายที่ละลายน้ำได้และมี pH เป็นกลาง ปริมาณไม่เกิน 1 ลิตร
สามารถเทลงอ่างน้ำและเปิดน้ำตามมาก ๆ
2) สารละลายเข้มข้นบางชนิด ไม่ควรทิ้งลงอ่างน้ำ ควรเจือจางก่อนเทลงอ่าง
3) สารเคมีที่เป็นของแข็งไม่อันตราย ปริมาณไม่เกิน 1 กิโลกรัม สามารถใส่ในภาชนะที่ปิดมิดชิด
พร้อมทั้งติดฉลากชื่อให้ชัดเจน ก่อนทิ้ง
4) สารไวไฟ ตัวทําละลายที่ไม่ละลายน้ำ สารประกอบของโลหะเป็นพิษ หรือสารที่ทําปฏิกิริยา
กับน้ำ ห้ามทิ้งลงอ่างน้ำ ให้ทิ้งไว้ในภาชนะที่ทางห้องปฏิบัติการจัดเตรียมไว้ให้
ก่อนทําปฏิบัติการ
1) ศึกษาขั้นตอนหรือวิธีการทําปฏิบัติการให้เข้าใจ วางแผนการทดลอง หากมีข้อสงสัยต้อง สอบถามครูผู้สอนทันที
2) ศึกษาข้อมูลของสารเคมีง เทคนิคการใช้เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ตลอดจน วิธีการทดลองที่ถูกต้องและปลอดภัย
3) แต่งกายให้เหมาะสม
ขณะทําปฏิบัติการ
1) ข้อปฏิบัติโดยทั่วไป
1.1 สวมแว่นตานิรภัย สวมเสื้อคลุมปฏิบัติการที่ติดกระดุมทุกเม็ด ควรสวมถุงมือเมื่อ ต้องใช้สารกัดกร่อนหรือสารที่มีอันตราย ควรสวมผ้าปิดปากเมื่อต้องใช้สารเคมีที่มีไอระเหย และทํา ปฏิบัติการในที่ซึ่งมีอากาศถ่ายเทหรือในตู้ดูดควัน
1.2 ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม หรือทํากิจกรรมอื่นๆ
1.3 ไม่ทําการทดลองในห้องปฏิบัติการตามลําพังเพียงคนเดียว เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น อาจช่วยได้ไม่ทันที หากเกิดอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการ ต้องแจ้งให้ครูผู้สอนทราบทันทีทุกครั้ง
1.4 ไม่เล่นและไม่รบกวนผู้อื่นในขณะที่ทําปฏิบัติการ
1.5 ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่างเคร่งครัด
1.6 ไม่ปล่อยให้อุปกรณ์ให้ความร้อน ทํางานโดยไม่มีคนดูแล และหลังจากใช้งานเสร็จแล้วให้ดับตะเกียงแอลกอฮอล้หรือปิดเครื่องและถอดปลั๊กไฟออกทันที แล้วปล่อยไว้ให้เย็นก่อนการจัดเก็บ
1) ข้อปฏิบัติโดยทั่วไป
1.1 สวมแว่นตานิรภัย สวมเสื้อคลุมปฏิบัติการที่ติดกระดุมทุกเม็ด ควรสวมถุงมือเมื่อ ต้องใช้สารกัดกร่อนหรือสารที่มีอันตราย ควรสวมผ้าปิดปากเมื่อต้องใช้สารเคมีที่มีไอระเหย และทํา ปฏิบัติการในที่ซึ่งมีอากาศถ่ายเทหรือในตู้ดูดควัน
1.2 ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม หรือทํากิจกรรมอื่นๆ
1.3 ไม่ทําการทดลองในห้องปฏิบัติการตามลําพังเพียงคนเดียว เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น อาจช่วยได้ไม่ทันที หากเกิดอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการ ต้องแจ้งให้ครูผู้สอนทราบทันทีทุกครั้ง
1.4 ไม่เล่นและไม่รบกวนผู้อื่นในขณะที่ทําปฏิบัติการ
1.5 ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่างเคร่งครัด
1.6 ไม่ปล่อยให้อุปกรณ์ให้ความร้อน ทํางานโดยไม่มีคนดูแล และหลังจากใช้งานเสร็จแล้วให้ดับตะเกียงแอลกอฮอล้หรือปิดเครื่องและถอดปลั๊กไฟออกทันที แล้วปล่อยไว้ให้เย็นก่อนการจัดเก็บ
2) ข้อปฏิบัติในการใช้สารเคมี
2.1 อ่านชื่อสารเคมีบนฉลากให้แน่ใจก่อนนําสารเคมีไปใช้
2.2 การเคลื่อนย้าย การแบ่ง และการถ่ายเทสารเคมีต้องทําด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะ อย่างยิ่งสารอันตราย และควรใช้อุปกรณ์เสริม เพื่อป้องกันความเสียหายของฉลากเนื่องจากการสัมผัสสารเคมี
2.3 การทําปฏิกิริยาของสารในหลอดทดลอง ต้องหันปากหลอดทดลองออกจากตัวเอง และผู้อื่นเสมอ
2.4 ห้ามชิมหรือสูดดมสารเคมีโดยตรง
2.5 การเจือจางกรด ห้ามเทน้ําลงกรดแต่ให้เทกรดลงน้ํา
2.6 ไม่เทสารเคมีที่เหลือจากการเทหรือตักออกจากขวดสารเคมีแล้วกลับเข้าขวดอย่างเด็ดขาด
2.7 เมื่อสารเคมีหกในปริมาณเล็กน้อยให้กวาดหรือเช็ด แล้วทิ้งลงในภาชนะสําหรับทิ้ง สารที่เตรียมไว้ หากหกในปริมาณมากให้แจ้งครูผู้สอน
หลังทําปฏิบัติการ
1) ทําความสะอาดอุปกรณ์ และวางหรือเก็บในบริเวณที่จัดเตรียมไว้ให้ รวมทั้งทําความสะอาดโต๊ะทําปฏิบัติการ
2) ก่อนออกจากห้องปฏิบัติการให้ถอดอุปกรณ์ป้องกันอันตราย
1.1.3 การกําจัดสารเคมีสารเคมีที่ใช้แล้วหรือเหลือใช้จากการทําปฏิบัติการเคมี จําเป็นต้องมีการกําจัดอย่างถูกวิธี เพื่อ
ให้เกิดความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต
การกําจัดสารเคมีแต่ละประเภท สามารถปฏิบัติได้ดังนี้
1) สารเคมีที่เป็นของเหลวไม่อันตรายที่ละลายน้ำได้และมี pH เป็นกลาง ปริมาณไม่เกิน 1 ลิตร
สามารถเทลงอ่างน้ำและเปิดน้ำตามมาก ๆ
2) สารละลายเข้มข้นบางชนิด ไม่ควรทิ้งลงอ่างน้ำ ควรเจือจางก่อนเทลงอ่าง
3) สารเคมีที่เป็นของแข็งไม่อันตราย ปริมาณไม่เกิน 1 กิโลกรัม สามารถใส่ในภาชนะที่ปิดมิดชิด
พร้อมทั้งติดฉลากชื่อให้ชัดเจน ก่อนทิ้ง
4) สารไวไฟ ตัวทําละลายที่ไม่ละลายน้ำ สารประกอบของโลหะเป็นพิษ หรือสารที่ทําปฏิกิริยา
กับน้ำ ห้ามทิ้งลงอ่างน้ำ ให้ทิ้งไว้ในภาชนะที่ทางห้องปฏิบัติการจัดเตรียมไว้ให้
วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2562
กินช็อกโกแลตไม่ได้ช่วยรักษาโรคซึมเศร้า
ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา สื่อต่างประเทศหลายสำนักได้เผยแพร่ข่าวดีสำหรับคนรักช็อกโกแลต โดยระบุว่าทีมนักวิจัยนานาชาติพบข้อดีอีกอย่างหนึ่งของการกินขนมหวานยอดนิยมดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งดาร์กช็อกโกแลตนั้น สามารถจะช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นและลดอาการไม่พึงประสงค์จากโรคซึมเศร้าได้
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยอันเป็นแหล่งที่มาของข่าวนี้ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสารวิชาการ Depression and Anxiety กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่า มีข้อบกพร่องในขั้นตอนดำเนินการศึกษาทดลอง จนทำให้สรุปผลผิดพลาด
รศ. ดร. เบน เดสบราว จากมหาวิทยาลัยกริฟฟิทของออสเตรเลีย แสดงความเห็นในบทความที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ The Conversation ว่าข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ ไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานยืนยันว่าการกินช็อกโกแลตจะช่วยป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า หรือช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ ของโรคซึมเศร้าได้แต่อย่างใด
งานวิจัยต้นเรื่องซึ่งจัดทำโดยทีมนักวิทยาศาสตร์จากออสเตรเลีย,จีน, ตุรกี, สเปน, ออสเตรีย และสหราชอาณาจักร ได้วิเคราะห์ตัวเลขสถิติจากฐานข้อมูลสุขภาพและโภชนาการแห่งชาติสหรัฐฯ เพื่อให้ทราบถึงสัดส่วนการกินช็อกโกแลตของประชากรส่วนใหญ่ รวมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามที่ใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งมีน้ำหนักตัวปกติและไม่ได้มีพฤติกรรมกินช็อกโกแลตมากจนเกินไปอีก 13,626 คน เพื่อดูว่าการกินช็อกโกแลตมีความสัมพันธ์กับอาการของโรคซึมเศร้าหรือไม่อย่างไร
- เพาะกายช่วยให้ฉันเอาชนะโรคซึมเศร้า
- การทานอาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียนคืออะไร และช่วยป้องกันโรคซึมเศร้าได้จริงหรือ ?
- งานวิจัยใหม่ยืนยัน 'ยารักษาอาการซึมเศร้า' ใช้ได้จริง
ผลการวิเคราะห์พบว่ามีกลุ่มตัวอย่าง 11% ที่ได้กินช็อกโกแลตเข้าไปในช่วง 24 ชั่วโมงก่อนตอบแบบสอบถาม แต่ในจำนวนนี้มีเพียง 1.1% เท่านั้นที่บอกว่าเลือกกินดาร์กช็อกโกแล็ต ส่วนในเรื่องของสุขภาพจิตนั้น มีกลุ่มตัวอย่างเพียง 7.4% ที่บอกว่าตนเองมีอาการของโรคซึมเศร้า
ความสัมพันธ์ของตัวเลขดังกล่าวทำให้ทีมผู้วิจัยสรุปว่า คนที่กินดาร์กช็อกโกแลตมีความเสี่ยงจะเกิดอาการของโรคซึมเศร้าน้อยกว่าคนที่ไม่ได้กินถึง 70% และหากยิ่งกินมากเป็นประจำ แนวโน้มที่จะเกิดอาการของโรคซึมเศร้าก็จะลดน้อยลงตามไปด้วย
อย่างไรก็ตาม รศ.ดร. เดสบราว ชี้ว่า "งานวิจัยนี้แสดงถึงแนวโน้มความสัมพันธ์ระหว่างการกินดาร์กช็อกโกแลตกับอาการของโรคซึมเศร้าในกลุ่มประชากรทั่วไปเท่านั้น แต่ไม่ได้พิสูจน์ยืนยันโดยตรงว่า การกินดาร์กช็อกโกแลตเป็นสาเหตุที่ช่วยป้องกันหรือบรรเทาอาการของโรคซึมเศร้าอย่างแน่ชัด"
"นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ระบุว่าตนเองกินดาร์กช็อกโกแลตนั้นก็มีน้อยมากเพียง 1.1% ในจำนวนนี้คนที่เผยว่าตนเองมีอาการของโรคซึมเศร้าอยู่แล้วก็มีเพียง 2 คน จึงยากที่จะสรุปได้ว่าการกินดาร์กช็อกโกแลตจะช่วยลดอาการซึมเศร้าได้จริง เพราะมีหลักฐานให้ตรวจสอบยืนยันไม่เพียงพอ"
"ปริมาณการบริโภคช็อกโกแลตโดยเฉลี่ยราววันละ 12 กรัมในงานวิจัยนี้ ถือว่าต่ำเกินไปกว่าระดับที่จะสามารถส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้ ส่วนวิธีสำรวจว่าผู้คนกินช็อกโกแลตมากน้อยเพียงใด ด้วยการเจาะจงถามเฉพาะแต่ช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมานั้น อาจไม่ได้สะท้อนพฤติกรรมการกินที่แท้จริงซึ่งเกิดขึ้นในระยะยาว"
แม้จะยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าช็อกโกแลตช่วยรักษาโรคซึมเศร้า แต่หากคุณเป็นคนรักช็อกโกแลตและต้องการจะบริโภคโดยคำนึงถึงน้ำหนักตัวและการรักษาสุขภาพร่างกายไปพร้อมกัน รศ.ดร. เดสบราวมีคำแนะนำดังนี้
"โดยทั่วไปแล้วควรเลือกรับประทานดาร์กช็อกโกแลต ซึ่งก็คือผลิตภัณฑ์ที่มีผงโกโก้อยู่ 45% ขึ้นไป รวมทั้งเลือกช็อกโกแลตที่มีส่วนผสมของผลไม้และถั่ว โดยกินในปริมาณจำกัดและไม่เผลอไผลปล่อยให้ตัวเองกินมากจนเกินไป"
ค้นพบ “อวัยวะ” ชิ้นใหม่ ทำหน้าที่ช่วยรับรู้ความเจ็บปวด
ทีมนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันคาโรลินสกาของสวีเดน เผยผลการศึกษาล่าสุดในวารสาร Science ว่าได้ค้นพบหน้าที่การทำงานแบบใหม่ของเซลล์ชนิดหนึ่งที่อยู่รอบเซลล์ประสาท โดยเซลล์ชนิดนี้ช่วยรับรู้ความเจ็บปวดร่วมกับเซลล์ประสาทในผิวหนังชั้นนอกและทำงานสอดประสานกันไม่ต่างจากอวัยวะชิ้นหนึ่ง
ทีมผู้วิจัยบอกว่าเซลล์ดังกล่าวคือเซลล์ชวานน์ (Schwann cell) ซึ่งเป็นเซลล์ค้ำจุนที่คอยห่อหุ้มปกป้องเซลล์ประสาทเอาไว้ให้มีชีวิตรอด แต่ที่ผ่านมาเซลล์ชนิดนี้ไม่สู้ได้รับความสนใจจากนักวิทยาศาสตร์เท่าที่ควร
- หวั่นเด็กหญิงเกิดลดลงหลังญี่ปุ่นพบวิธีคัดแยกสเปิร์มแม่นยำสูง
- ยาแก้ปวดอาจเพิ่มความเสี่ยงเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
- เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายเวลาที่ปวดหัวไมเกรน
ผลการศึกษาพบว่าเซลล์ชวานน์บางประเภทที่มีรูปร่างคล้ายปลาหมึกยักษ์และอยู่ใต้ผิวหนังชั้นนอก กลับแผ่ขยายปกคลุมเซลล์ประสาทรับความรู้สึกเจ็บปวดไปจนถึงชั้นหนังกำพร้า ซึ่งแต่เดิมนักวิทยาศาสตร์เข้าใจว่า ส่วนปลายของเซลล์ประสาทในบริเวณผิวหนังชั้นนอกสุดไม่มีเซลล์ค้ำจุ้นห่อหุ้มอยู่
แต่การค้นพบที่สร้างความประหลาดใจมากที่สุดในครั้งนี้ก็คือ เซลล์ชวานน์ดังกล่าวสามารถรับความรู้สึกเจ็บจากผิวหนัง และส่งสัญญาณประสาทสื่อความรู้สึกนั้นไปยังสมองผ่านทางเซลล์ประสาทได้ด้วย
มีการทดลองเพื่อพิสูจน์ความสามารถของเซลล์ดังกล่าว โดยใช้หนูที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรมให้เซลล์ชวานน์ที่ฝ่าเท้าถูกกระตุ้นได้ด้วยแสง เมื่อนักวิจัยฉายไฟส่องส่วนเท้าของหนู พวกมันจะมีปฏิกิริยาตอบสนองเช่นยกเท้าขึ้น เขย่าหรือเลียฝ่าเท้าบ่อยครั้งขึ้น รวมทั้งทำท่าปกป้องคุ้มกันส่วนเท้า ซึ่งล้วนเป็นอาการที่แสดงถึงความรู้สึกเจ็บปวดจากการกระตุ้นเซลล์ชวานน์นั่นเอง
เมื่อนำหนูทดลองข้างต้นไปสัมผัสความร้อน ความเย็น และพื้นผิวที่ให้ความรู้สึกเหมือนเข็มแทง ทีมผู้วิจัยพบว่าหนูจะแสดงอาการทุรนทุรายเจ็บปวดมากขึ้นเมื่อฉายไฟกระตุ้นเซลล์ชวานน์ไปด้วย แต่จะมีท่าทีสงบลงเมื่อไม่ได้ฉายไฟดังกล่าว ซึ่งปรากฏการณ์นี้ยืนยันว่าเซลล์ชวานน์สามารถรับรู้ความเจ็บปวด และส่งความรู้สึกเจ็บให้กับเซลล์ประสาทเพื่อส่งต่อไปยังสมองได้
แม้จะยังไม่ได้ทำการทดลองแบบเดียวกันในมนุษย์ แต่ศาสตราจารย์พาทริก แอร์นฟอร์ส หนึ่งในทีมผู้วิจัยบอกว่า "เซลล์ชวานน์และเซลล์ประสาทรับความรู้สึกเจ็บนั้นอยู่ร่วมกันและทำงานสอดประสานกัน เท่ากับว่าพวกมันรวมตัวกันเป็นอวัยวะอีกชิ้นหนึ่ง"
"นอกจากนี้ เรายังสงสัยว่าเซลล์ชวานน์ดังกล่าวอาจเป็นสาเหตุของอาการเจ็บปวดเรื้อรังบางอย่างที่ยังรักษาไม่ได้ หากเรามีความเข้าใจกลไกการทำงานของเซลล์ชนิดนี้มากขึ้น เราจะสามารถพัฒนายาแก้ปวดรุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า" ศ. แอร์นฟอร์สกล่าว
ความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ในการมองหาเอเลียนด้วยสัญญาณจากสิ่งมีชีวิตเรืองแสง
แม้มนุษย์จะยังค้นหาสิ่งมีชีวิตต่างดาวไม่พบสักที แต่บรรดานักวิทยาศาสตร์ก็ยังคงไม่ละความพยายาม โดยต่างเสนอเทคนิควิธีการใหม่ ๆ เพื่อมองหา "เอเลียน" ซึ่งซ่อนตัวอยู่ที่ไหนสักแห่งในห้วงอวกาศให้จงได้
ล่าสุดนักชีวดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ของสหรัฐฯ ได้พัฒนาเทคนิคการค้นหาสิ่งมีชีวิตต่างดาว ด้วยการมองหาสัญญาณ "การเรืองแสงชีวภาพ" (Biofluorescence) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่สิ่งมีชีวิตบางประเภทตอบสนองต่อการปะทุรังสีอัลตราไวโอเลต (ยูวี) อย่างรุนแรงจากดวงอาทิตย์
- อวกาศ : ค้นพบ “ดาวซอมบี้” ฟื้นคืนชีพหลังการระเบิดซูเปอร์โนวา
- พบทฤษฎีไอน์สไตน์เป็นจริงแม้กับดาวโคจรรอบหลุมดำมวลยิ่งยวด
ดร. แจ็ค โอมัลลีย์-เจมส์ ผู้นำทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์บอกว่า สิ่งมีชีวิตบนโลกบางประเภทเช่นปะการังน้ำลึกและสัตว์ทะเลบางกลุ่มสามารถจะเรืองแสงได้ โดยกลไกปกป้องตนเองของพวกมันจะดูดซับและแปลงรังสียูวีที่เป็นอันตรายให้มีความยาวคลื่นลดลง จนมาอยู่ในช่วงคลื่นที่สายตามนุษย์สามารถมองเห็นเป็นแสงสีต่าง ๆ ได้
"หากมีสิ่งมีชีวิตที่มีกลไกคล้ายกันบนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงใดดวงหนึ่ง เราก็จะทราบได้ทันที เมื่อใช้กล้องโทรทรรศน์ประสิทธิภาพสูงส่องเห็นการเรืองแสงในลักษณะนี้" ดร. โอมัลลีย์-เจมส์ กล่าว
ทีมผู้วิจัยได้ใช้การเรืองแสงของปะการังน้ำลึกเป็นต้นแบบ เพื่อคำนวณหาความเข้มและสีสันของการเรืองแสงชีวภาพที่สิ่งมีชีวิตต่างดาวอาจเปล่งออกมาเป็นครั้งคราว รวมทั้งคำนวณโอกาสความเป็นไปได้ในการตรวจพบเอเลียนเรืองแสงด้วยกล้องโทรทรรศน์รุ่นใหม่ ซึ่งอาจติดตั้งใช้งานบนพื้นโลกหรือในอวกาศ
- เมื่อการศึกษาไทยพาไปไม่ถึงอวกาศ เด็กสาววัย 18 ปี จึงลาออกจากโรงเรียนตอน ม. 5 มาศึกษาเอง
- อวกาศ : เผยวิธีสร้างอาณานิคมบนดาวอังคารด้วย “ซิลิกาแอโรเจล”
รศ.ดร. ลิซา คาลเทเนกเกอร์ ผู้อำนวยการสถาบันคาร์ลซาแกนของมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์บอกว่า "การเรืองแสงชีวภาพของสิ่งมีชีวิตต่างดาวอาจเห็นได้ชัดเจน เมื่อเกิดการปะทุรังสียูวีระดับรุนแรงจากดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้เคียง จนถึงขั้นทำให้แสงสีของดาวที่เอเลียนอาศัยอยู่เปลี่ยนแปลงไปและสังเกตเห็นได้"
"ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของการค้นหาด้วยเทคนิคนี้ ได้แก่ดาวที่คล้ายคลึงกับโลกและโคจรรอบดาวฤกษ์ชนิด M สีส้มแดงที่มีอุณหภูมิผิวค่อนข้างต่ำ อย่างเช่นดาวพร็อกซิมาบีที่ค้นพบเมื่อปี 2016 ซึ่งอยู่ใกล้โลกและน่าจะเป็นเป้าหมายสำคัญของการสำรวจอวกาศในอนาคต"
วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2562
สุขภาพ : วิธีออกกำลังกาย 6 แบบช่วยลดน้ำหนักได้ผล แม้กับคนมี "ยีนอ้วน"
ความอ้วนเกิดจากสาเหตุหลักสองประการ ทั้งจากวิถีการกินอยู่ของแต่ละคนและจากพันธุกรรมที่มีมาแต่กำเนิด คนอ้วนจำนวนมากลดน้ำหนักไม่ได้โดยง่าย แม้จะพยายามออกกำลังกายและควบคุมอาหารมากเท่าใดก็ตาม เนื่องจากเป็นความอ้วนที่มีสาเหตุมาจากปัจจัยทางพันธุกรรม แต่ล่าสุดคนกลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องกังวลกับเรื่องรูปร่างและสุขภาพที่เป็นปัญหาอีกต่อไป
ทีมนักวิจัยด้านระบาดวิทยาของมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน ตีพิมพ์ผลการศึกษาล่าสุดลงในวารสาร PLOS Genetics โดยระบุว่ามีวิธีออกกำลังกายอย่างน้อย 6 แบบ ที่สามารถช่วยให้คนอ้วนง่ายเพราะพันธุกรรมสามารถลดน้ำหนักตัวและดัชนีมวลกาย (BMI) ให้ลงมาอยู่ในเกณฑ์ของคนที่มีสุขภาพดีได้
วิธีออกกำลังกายทั้ง 6 แบบได้แก่ การวิ่งเหยาะหรือวิ่งจ๊อกกิ้งเป็นประจำ, การปีนเขา, การเดิน, การเดินเร็ว, การเต้นรำตามมาตรฐานสากล และการฝึกโยคะเป็นจำนวนชั่วโมงยาวนานกว่าปกติ ทีมผู้วิจัยยังพบว่าการวิ่งเหยาะ 30 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นวิธีลดน้ำหนักที่ได้ผลมากที่สุดสำหรับคนอ้วนง่ายเพราะพันธุกรรม
- โยคะไวน์ มิติใหม่แห่งการออกกำลังกาย
- "เบียร์พระ" หมัก ในสหราชอาณาจักรขายดีจนผลิตไม่ทัน
- โลกไม่ได้มีแค่ "มนุษย์ค้างคาว" กับ "มนุษย์ไก่โห่" พบวงจรการหลับ-ตื่นเพิ่มอีกสองแบบ
- นอนเพียง 6 ชม.ต่อคืนหรือน้อยกว่า ทำให้ร่างกายขาดน้ำ
ผลวิจัยดังกล่าวมาจากการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพของชาวไต้หวันเชื้อสายจีนฮั่น 18,424 คน ซึ่งมีอายุระหว่าง 30-70 ปี โดยพบว่าวิธีออกกำลังหลายรูปแบบที่นิยมกันทั่วไป เช่นการปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ หรือการเต้นในเกมยอดฮิต "แดนซ์ แดนซ์ เรโวลูชัน" ไม่สามารถจะช่วยให้กลุ่มคนที่มี "ยีนอ้วน" มาแต่กำเนิดลดน้ำหนักลงได้ แม้วิธีออกกำลังเหล่านั้นจะมีผลดีต่อสุขภาพในด้านอื่นก็ตาม
ทีมผู้วิจัยยังตั้งข้อสังเกตว่า วิธีออกกำลังกายที่ไม่ได้ผลมักใช้พลังงานไปไม่มากพอสำหรับการลดน้ำหนักของคนกลุ่มนี้ ส่วนการบริหารร่างกายในน้ำเย็นเช่นการว่ายน้ำยังทำให้หิวมากขึ้น และมีแนวโน้มจะกินมากขึ้นกว่าเก่า
อย่างไรก็ดี ทีมผู้วิจัยพบว่าการออกกำลังกาย 6 ประเภทข้างต้น มีความหนักหน่วงในระดับเหมาะสมสำหรับคนอ้วนง่ายเพราะพันธุกรรม ซึ่งนอกจากจะช่วยให้น้ำหนักตัวลดลงแล้ว ยังช่วยให้เปอร์เซ็นต์ของไขมันในร่างกาย, รอบเอว, รอบสะโพก รวมทั้งสัดส่วนระหว่างเอวต่อสะโพกลดลงอย่างมีนัยสำคัญด้วย
- พบพันธุกรรม-ฮอร์โมนมีส่วนทำให้ผู้หญิงบางคนชอบผัดวันประกันพรุ่ง
- มนุษย์โบราณโฮโม อีเร็กตัส สูญพันธุ์เพราะ "ขี้เกียจ"
ดร. หวัน ยู่ หลิน หนึ่งในทีมผู้วิจัยกล่าวสรุปว่า "การมีพันธุกรรมที่ทำให้อ้วนง่าย ไม่ได้หมายความว่าคนกลุ่มนี้จะไม่มีทางลดน้ำหนักได้เอาเสียเลย การออกกำลังกายที่ถูกวิธีอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยชดเชยและยับยั้งอิทธิพลจากพันธุกรรมที่มีต่อสุขภาพได้"
ทั้งนี้ งานวิจัยดังกล่าวไม่ได้ตรวจสอบประสิทธิภาพของวิธีออกกำลังกายอย่างครอบคลุมทุกชนิด กีฬายอดนิยมบางประเภทเช่นยกน้ำหนัก, ปิงปอง, แบดมินตัน และบาสเกตบอล ไม่รวมอยู่ในการวิเคราะห์ครั้งนี้ จึงยังไม่อาจแน่ใจได้ว่ากีฬาเหล่านี้จะช่วยให้คนมียีนอ้วนลดน้ำหนักได้ด้วยหรือไม่
วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2562
1.1 ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี
การทำปฏิบัติการเคมีส่วนใหญ่ต้องมีความเกี่ยวข้องกับสารเคมีอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ซึ่งผู้ทำการปฏิบัติการต้องตระหนักถึงความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นและสิ่งแวดล้อมโดยผู้ทำการปฏิบัติการควรทราบเกี่ยวกับประเภทของสารเคมีที่ใช้ข้อควรปฏิบัติในการทำการปฏิบัติการเคมีและการกำจัดสารเคมีที่ใช้แล้วหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติการเพื่อให้สามารถทำปฏิบัติการเคมีได้อย่างปลอดภัย
1.1.1 ประเภทของสารเคมี
สารเคมี มีหลายประเภทแต่ละประเภทก็จะแตกต่างกันออกไป สารเคมีจึงจำเป็นต้องมีฉลากที่มีข้อมูลเกี่ยวกับความอันตรายของสารเคมีเพื่อความปลอดภัยในการจัดเก็บ โดย ฉลากของสารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการควรมีข้อมูลดังนี้ 1 ชื่อผลิตภัณฑ์
2 รูปสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี
3 คำเตือนข้อมูลความเป็นอันตรายและข้อควรระวัง
4 ข้อมูลของบริษัทผู้ผลิตสารเคมี
บนฉลากบรรจุภัณฑ์จะมีสัญลักษณ์ แสดงความเป็นอันตราย ที่สื่อความหมายได้ชัดเจนในที่นี้จะกล่าวถึงสองระบบ ได้แก่ Globally Harmonized System of classification and labelling of chemicals (GHS) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้สากล และ National fire protection association hazard identification system (NFPA) เป็นระบบที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา
สำหรับ สัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายในระบบ NFPA จะ ใช้สีแทนความเป็นอันตรายในด้านต่างๆได้แก่สีแดง แทนความไวไฟ สีน้ำเงินแทนความเป็นอันตรายต่อสุขภาพสีเหลืองแทนความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยาเคมี โดยเศษตัวเลข 0-4 เพื่อระบุระดับความเป็นอันตรายจากน้อยไปหามากและช่องสีขาวใช้ใส่อักษรหรือสัญลักษณ์ที่แสดงสมบัติที่เป็นอันตรายด้านอื่นๆ
นอกจากฉลากว่าสัญลักษณ์แสดงความเป็นตายต่างๆที่ต้องมีบนบรรจุภัณฑ์แล้วยังต้องมีเอกสารความปลอดภัยด้วย
1.1.2ข้อควรปฎิบัติในการทำปฎิบัติการเคมี
ก่อนทำปฏิบัติการ 1) ศึกษาขั้นตอนวิธีการให้เข้าใจ 2) ศึกษาข้อมูลของสารเคมีและเทคนิคเครื่องมือต่างๆ 3) แต่งกายให้เหมาะสม ขณะทำปฎิบัติ 1) ข้อปฏิบัติโดยทั่วไป 1.1 สอบแว่นตานิรภัยสมรักษ์ห้องปฏิบัติการและสวมผ้าปิดปาก 1.2 ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฎิบัติการ 1.3 ไม่ทำการทดลองเพียงคนเดียว 1.4 ไม่เล่นขณะที่ ทำปฏิบัติการ 1.5 ทำ ตามขั้นตอนและวิธีการอย่างเคร่งครัด 1.6 ไม่ปล่อยให้อุปกรณ์มีความร้อน 2) ข้อปฏิบัติในการใช้สารเคมี 2.1 อ่านชื่อสารให้แน่ใจก่อนนำไปใช้ 2.2 เคลื่อนย้ายสารเคมีด้วยความระมัดระวัง 2.3 หันปากหลอดทดลองจากตัวเองและผู้อื่นเสมอ 2.4 ห้ามชิมสารเคมี 2.5 ห้ามเทน้ำลงกรดต้องให้กรดลงน้ำ 2.6 ไม่เก็บสารเคมีที่เหลือเข้าขวดเดิม 2.7 ทำสารเคมีหกให้เช็ด หลังทำปฏิบัติการ
1) ทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ 2) ก่อนออกจากห้องให้ถอดอุปกรณ์ป้องกันอันตราย
1.1.3 การกำจัดสารเคมี
การกำจัดสารเคมีแต่ละประเภทสามารถปฏิบัติได้ดังนี้
1) สารเคมีที่เป็นของเหลวไม่อันตรายเป็นกลาง ปริมาณไม่เกิน 1 ลิตร สามารถเทลงอ่างน้ำได้ เลย
2) สารละลายเข้มข้นบางชนิด ควรเจือจางก่อนเทลงอ่างน้ำ
3) สารเคมีที่เป็นของแข็งไม่อันตราย ใส่ในภาชนะที่ปิดมิดชิด ก่อนทิ้งในที่จัดเตรียมไว้
4) สารไวไฟ สารประกอบของโลหะเป็นพิษห้ามทิ้งลงอ่างน้ำ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ข้อสอบ O-NET ปี 2550
ข้อที่ 1. สารชีวโมเลกุลชนิดใดมีมากที่สุดของน้ำหนักแห้งในร่างกายคน ตัวเลือกที่ 1 : ไขมัน ตัวเลือกที่ 2 : โปรตีน ตัวเลือกที่ 3 : คาร์ไบ...
-
การทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมีโดยมีผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการขาดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้น เป็นสาเหตุที...
-
การทำปฏิบัติการเคมีส่วนใหญ่ต้องมีความเกี่ยวข้องกับสารเคมีอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ซึ่งผู้ทำการปฏิบัติการต้องตระหนักถึงความปลอดภัยของ...
-
ในปี พ.ศ.2439 อองตวน อองรี แบ็กเกอเรล (Antoine Henri Becquerel)นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสพบว่า เมื่อเก็บแผ่นฟิล์มถ่ายรูปที่หุ้มด้วยกระดา...